ความหมายของ คอมเพรสเซอร์ ตามชื่อคือ เครื่องจักรผลิตอากาศอัดด้วยการอัดแก๊ส ซึ่งโดยปกติแล้ว อุปกรณ์ที่สามารถอัดแก๊สให้มีแรงดัน 0.1 เมกะปาสคาล (ประมาณ 1.0 กิโลกรัมแรง/ตารางเซนติเมตร) หรือมากกว่าจึงจะถือว่าเป็น คอมเพรสเซอร์ (อ้างอิง: อุปกรณ์ที่สร้างแรงดันส่งต่ำกว่า 10 กิโลปาสคาล เรียกว่า พัดลม ส่วนอุปกรณ์ที่สร้างแรงดัน 10 กิโลปาสคาล ขึ้นไป แต่ต่ำกว่า 0.1 เมกะปาสคาล จะเรียกว่า เครื่องเป่าลม) ทั้งนี้จากผลสำรวจตัวอย่างการใช้งานคอมเพรสเซอร์ เราไม่ถือเป็นเรื่องเกินจริงหากจะกล่าวว่า โรงงานฝ่ายผลิตแทบทุกแห่งมีการใช้อากาศอัด สำหรับขับเคลื่อนเครื่องจักรและเครื่องอัด ตลอดจนเป็นแหล่งพลังงานสำหรับกระบวนการผลิตต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องจักรตัดโลหะ นอกจากนี้ ยังมีการใช้คอมเพรสเซอร์ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การถอนและการติดตั้ง การเป่าลมเศษต่าง ๆ การหมุนเปลี่ยนอุปกรณ์ การใช้งานแกนหมุนของเครื่องมือต่าง ๆ เป็นต้น
คอมเพรสเซอร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการปฏิบัติงานฝ่ายผลิตและถือเป็นเครื่องจักรซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็น "หัวใจของโรงงานฝ่ายผลิต" เนื่องจากการผลิตจะหยุดชะงักเมื่อการจ่ายอากาศอัดถูกระงับ นั่นคือเหตุผลที่จำเป็นต้องติดตั้งคอมเพรสเซอร์อย่างเหมาะสมตั้งแต่แรก และมีระบบการจัดการคอมเพรสเซอร์อย่างเพียงพอ ณ สถานที่ส่งมอบ
เป็นที่ทราบกันดีว่า คอมเพรสเซอร์ใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก คิดเป็นประมาณ 25% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในโรงงานฝ่ายผลิต ทั้งนี้ ในกรณีของประเทศญี่ปุ่น คิดเป็นประมาณ 5% ของพลังงานไฟฟ้าทั้งหมดที่ใช้ในประเทศ หากสมมุติว่าใช้งานคอมเพรสเซอร์เป็นเวลาสิบปี สัดส่วนของต้นทุนวงจรอายุการใช้งานคิดด้วยค่าไฟฟ้าจะเท่ากับ 80 ถึง 90% สิ่งนี้บ่งชี้ให้เห็นว่า การใช้คอมเพรสเซอร์ที่ประหยัดพลังงานสูงและการปรับระบบอากาศให้เหมาะสม ซึ่งหมายรวมถึง เครื่องทำลมแห้ง ฟิลเตอร์ และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ โดยรวม จะนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิตได้เป็นอย่างดี และในท้ายที่สุด จะนำไปสู่การมีส่วนร่วมต่อการขจัดคาร์บอนเพื่อสังคม ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง