กรณีศึกษาที่ 3 บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้า

ระบบอากาศบริสุทธิ์สร้างขึ้นเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในการคงอุณหภูมิจุดน้ำค้างต่ำแม้ในช่วงฤดูร้อน!


นอกเหนือจากการประหยัดพลังงานสูงสุดแล้ว การรักษาระดับอุณหภูมิจุดน้ำค้างให้ต่ำได้แม้ในช่วงฤดูร้อนของประเทศ อินเดียก็ยังสามารถทำได้ กล่าวคือ ไม่เพียงแค่ปรับค่าอุปกรณ์แต่ละรายการให้เหมาะสมเท่านั้น แต่ยังนำเสนอวิธีการ เพิ่มประสิทธิภาพของระบบโดยรวมทั้งหมดอีกด้วย การใช้งานดังกล่าวคือความสำเร็จในการตอบโจทย์โซลูชันระบบ ซึ่งตอบสนองต่อความต้องการเฉพาะของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

Topic
  • อุณหภูมิจุดน้ำค้างต่ำ / ระบบอากาศบริสุทธิ์ ดำเนินงานได้แม้ในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูมรสุม (ฤดูฝน) ของประเทศอินเดีย
  • ประหยัดการใช้พลังงานผ่านอุปกรณ์คอมเพรสเซอร์
Proposal

เสนอให้ใช้เครื่องทำลมแห้งแบบทำความเย็นและเครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารดูดซับความชื้นและความร้อนจากภาย นอกสำหรับระบบโดยรวม

Results
  • รักษาระดับ PDP ที่ -70°C ผ่านการจ่ายอากาศบริสุทธิ์แบบเสถียร
  • ค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้นลดลงประมาณ 10% และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลดลงประมาณ 15%
Implemented equipment

ALE250WV x 1 ยูนิต, ALE275W x 4 ยูนิต, เครื่องทำลมแห้งประเภททำความเย็น x 5 ยูนิต รวมถึงเครื่องทำลมแห้ง แบบใช้สารดูดซับความชื้นและความร้อนจากภายนอก x 4 ยูนิต, ระบบแยกช่องทางระบาย / ฟิลเตอร์ในตำแหน่งต่าง ๆ ทั้งก่อนเข้าระบบ, หลังเข้าระบบ และตำแหน่งท้าย, ระบบควบคุมแบบกลุ่ม

Features

1. การใช้งานเครื่องทำลมแห้งประเภททำความเย็น รวมถึงเครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารดูดซับความชื้นและความร้อน จากภายนอก

อุณหภูมิจุดน้ำค้างซึ่งสถานที่ปฏิบัติงานต้องการคืออุณหภูมิจุดน้ำค้างที่ต่ำมาก (-70C PDP) อย่างไรก็ตาม ปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องจัดการมีดังนี้:

  1. ต้องรักษาระดับอุณหภูมิจุดน้ำค้างให้ต่ำแม้ในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูมรสุม (ฤดูฝน) ของประเทศอินเดีย
  2. ต้องการประหยัดการใช้พลังงานสูงสุด
  3. ลดขนาดคอมเพรสเซอร์ให้น้อยที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยคำนึงถึงความจุของอุปกรณ์จ่ายไฟ

สิ่งสำคัญที่เราพิจารณาคือ การสร้างระบบที่เหมาะสม

อันดับแรก เครื่องทำลมแห้งที่มีค่า -70C PDP โดยทั่วไป คือเครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารดูดซับความชื้น (เครื่องทำลม แห้งแบบไม่ใช้ความร้อนหรือเครื่องทำลมแห้งแบบทำความร้อน) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโดยพื้นฐานแล้วเราต้องเลือก ใช้ให้เข้ากับปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงสุด การออกแบบระบบให้สามารถรักษาอุณหภูมิจุดน้ำค้างที่ต้องการได้ ด้วยเครื่องทำลมแห้งแบบไม่ใช้ความร้อนเพียงเครื่องเดียว ซึ่งติดตั้งในสภาพแวดล้อมอุณหภูมิ 50°C จึงส่งผลให้ เกิดการสูญเสียการไล่อากาศ ทิ้งอย่างมาก (ประมาณ 17 ถึง 20%) ค่าดังกล่าวสูงเกินไปเมื่อพิจารณาจาก ความต้องการที่จะประหยัดพลังงาน ทั้งยังหมายความว่า เนื่องจากเกิดการสูญเสียการไล่อากาศทิ้งของเครื่องทำลมแห้งดังกล่าว ขนาดของเครื่องคอมเพรสเซอร์จึงต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งจะเกินความสามรถของอุปกรณ์จ่ายไฟอีกด้วย

 

เมื่อทราบถึงปัญหาแล้ว เราจึงดำเนินการลดความชื้นล่วงหน้า ผ่านการติดตั้งเครื่องทำลมแห้งแบบทำความเย็นให้ มากกว่าเครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารดูดซับความชื้น จากนั้นจึงติดตั้งเครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารดูดซับความชื้นและ ความร้อนจากภายนอกทดแทนเครื่องทำลมแห้งแบบใช้สารดูดซับความชื้น เพราะช่วยลดการสูญเสียการไล่อากาศ ทิ้ง/ พลังงานได้ดีกว่าเครื่องทำลมแห้งแบบไม่ใช้ความร้อน ทั้งหมดดังกล่าวมาได้รับการดำเนินงานเพื่อจัดการกับประเด็น ปัญหาต่าง ๆ ดังอธิบายไว้ข้างต้นและบรรลุผลสำเร็จ ดังนี้:

  1. รักษาระดับอุณหภูมิจุดน้ำค้างต่ำได้ (-70 °C PDP) แม้ในช่วงฤดูร้อนหรือฤดูฝน
  2. ประหยัดการใช้พลังงานได้ประมาณ 15% เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีการใช้งานเครื่องทำลมแห้งแบบไม่ใช้ความร้อน เพียงเครื่องเดียว
  3. ประหยัดค่าใช้จ่ายในการลงทุนเบื้องต้นของโรงงานอัดอากาศประมาณ 10% เมื่อเปรียบเทียบกับกรณีการใช้งานเครื่อง ทำลมแห้งแบบไม่ใช้ความร้อนเพียงเครื่องเดียว ทั้งยังลดความจุของแหล่งจ่ายไฟลงอีกด้วย
     

ภาพประกอบกรณีศึกษาที่ 3