ต่อไปนี้คือความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแรงดันและปริมาตรอากาศ ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมเพรสเซอร์
แรงดันเกจและแรงดันสัมบูรณ์
ความจริงแล้วอากาศรอบตัวเราก็มีแรงดันเช่นกัน อากาศจะถูกอัดด้วยน้ำหนักของมันเองและสร้างแรงขึ้น สิ่งนี้เรียกว่า "ความกดอากาศ" การบ่งชี้ค่าแรงดันโดยไม่ได้พิจารณาค่าความกดอากาศเรียกว่า "แรงดันเกจ" ในขณะที่การบ่งชี้ค่าแรงดันโดยพิจารณาค่าความกดอากาศเรียกว่า “แรงดันสัมบูรณ์” (อาจระบุค่าด้วย “G” หรือ “abs” ต่อท้ายสัญลักษณ์แสดงหน่วยตามลำดับ) ทั้งนี้ความดันปกติซึ่งอธิบายไว้ในเอกสารเกี่ยวกับเครื่องอัดอากาศคือ แรงดันเกจ เว้นแต่จะระบุไว้เป็นอื่น รวมถึงความดันทั้งหมดในแค็ตตาล็อกของเราเช่นกัน

ปริมาตรอากาศ
อัตราการไหลของอากาศที่ระบายออกโดยคอมเพรสเซอร์ จะแสดงค่าด้วยปริมาตรอากาศ หน่วยทั่วไปที่ใช้มากที่สุดเพื่อระบุปริมาณอากาศคือ m3/min ซึ่งอ่านว่า “ลูกบาศก์เมตรต่อนาที”
The air flow rate discharged by a compressor is indicated by the volume of air. The most typical unit used to indicate the amount of air is m3/min., which is read “cubic meters per minute."
สิ่งสำคัญคือพึงระลึกไว้เสมอว่า ปริมาณอากาศที่ระบายออกจะบ่งชี้ปริมาณอากาศที่ดูดเข้าไปเช่นกัน จึงอาจทำให้สับสนและแสดงค่าปริมาณอากาศ "ที่ระบายออก" เป็นปริมาณอากาศที่ดูดเข้าไป แต่อย่างไรก็ตาม นี่คือกฎทั่วไปที่ใช้ในอุตสาหกรรมคอมเพรสเซอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปริมาณอากาศที่ระบายออกดังแสดงในแค็ตตาล็อก คือ ปริมาณอากาศที่ระบายออกซึ่งแปลงเป็นสภาวะดูดเข้า อนึ่ง สภาวะดูดจะกำหนดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศที่ถูกดูด ค่าในส่วนนี้จะแตกต่างกันไปตามผู้ผลิตและมาตรฐานต่าง ๆ


หน่วย Nm3 ใช้เป็นหน่วยแสดงค่าปริมาตรอากาศ เรียกว่า "ลูกบาศก์เมตรปกติ" หน่วยข้างต้นใช้สำหรับวัดค่าอากาศที่อุณหภูมิ 0°C, ความชื้นสัมพัทธ์ 0% และอยู่ภายใต้ความกดอากาศ ซึ่งเรียกว่า สภาวะปกติ ส่วนสถานะดูดของค่าดังแสดงในแค็ตตาล็อกจะกำหนดตามมาตรฐานและการผลิตดังอธิบายไว้แล้ว ทั้งนี้ โดยทั่วไปปริมาณอากาศดังแสดงในแคตตาล็อกมักไม่แสดงค่าในสภาวะปกติ เนื่องจากสภาวะแวดล้อมของปริมาณอากาศในแค็ตตาล็อกและสภาวะปกตินั้นแตกต่างกัน จึงจำเป็นต้องเปรียบเทียบกับค่าอื่น เนื้อหาต่อไปนี้อาจเป็นเนื้อหาเฉพาะทางเล็กน้อย แต่สูตรตามที่อธิบายเบื้องล่างอาจจำเป็นต้องใช้ เพื่อแปลงปริมาณอากาศภายใต้สภาวะบางอย่างเป็นสภาวะปกติต่อไป
[อ้างอิง: วิธีแปลงปริมาตรอากาศเป็นสภาวะปกติ]

ดังแสดงจากผลการคำนวณ อากาศปริมาตร 10 ลูกบาศก์เมตร ภายใต้สภาวะ [อุณหภูมิ: 30°C, ความชื้น: 75% และแรงดันบรรยากาศ] ซึ่งแปลงเป็นสภาวะปกติจะมีค่าประมาณ 8.7 ลูกบาศก์เมตรปกติ
ดังนั้น เมื่อกำหนดปริมาณอากาศที่โรงงานต้องใช้ในสภาวะปกติแล้ว จึงต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการเลือกคอมเพรสเซอร์ เนื่องจากค่าปริมาณอากาศเปลี่ยนแปลงได้ โดยขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมตามที่อธิบายข้างต้น